วันพฤหัสบดีที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การศึกษาภาวะผู้นำที่มหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท (The Ohio state studies)

        คณะนักวิจัยของมหาวิทยาลัยโอไฮโอสเตท ในสหรัฐ ได้สรุปผลการวิจัยโดยจำแนกพฤติกรรมของผู้นำออกเป็น 2 มิติ ได้แก่ ด้านกิจสัมพันธ์ (Initiating structure) กับด้านมิตรสัมพันธ์(Consideration) เป็นครั้งแรกที่เน้นความสำคัญทั้งของงานและคนในการประเมินพฤติกรรมของผู้นำ
        1. พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งด้านกิจสัมพันธ์ (Initiating structure) ซึ่งเป็นพฤติกรรมของ
ผู้นำที่มุ่งความสำเร็จของงาน โดยผู้ตามมีโอกาสได้เรียกร้องหรือเสนอเงื่อนไขการทำงานได้น้อยมาก
        2. พฤติกรรมของผู้นำที่มุ่งมิตรสัมพันธ์ (Consideration) เป็นพฤติกรรมของผู้นำที่
แสดงถึงความรู้สึกไวต่อการรับรู้ต่อผู้ตามในแง่ให้การยอมรับถึงความรู้สึก ความคิด การให้ความไว้วางใจ การแสดงความชื่นชม และรับฟังปัญหาของผู้ตามอย่างตั้งใจ การรับฟังข้อเสนอแนะของผู้ตามเพื่อประกอบการตัดสินใจ การแสดงความเอื้ออาทรห่วงใยต่อปัญหาและความต้องการของลูกน้อง เป็นต้น
ที่มา  http://www.bs2504.thport.com/Vinaip/articles/12leadership.htm

วันพฤหัสบดีที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

โรงเรียนบ้านดงเปือย  (มูลศึกษาวิทยา)
แบบเสนองาน/โครงการประจำปี 2552


1. ชื่อโครงการ
                ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ
2.สนองมาตรฐานการศึกษาของ สพฐ.
                มาตรฐานที่ 5  ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร
3.ลักษณะโครงการ  
                 P    โครงการใหม่                   โครงการต่อเนื่อง
4.ประเภทโครงการ  
                กิจกรรมวิชาการ
5.หน่วยงานที่รับผิดชอบ  
                งานวิชาการ            
6.ผู้รับผิดชอบโครงการ 
                นายสมเดช    มากมี
7.หลักการและเหตุผล
                โรงเรียนเป็นสถาบันที่ให้การศึกษาแก่เยาวชนของชาติ  ได้มีความรู้ ทักษะขั้นพื้นฐานที่สนองความต้องการ  ความสนใจ  และความถนัดของนักเรียน  ภารกิจหลักของโรงเรียนก็คือ  งานวิชาการที่มุ่งพัฒนาให้นักเรียนมีความรู้คู่คุณธรรม  และส่งเสริมศักยภาพภาพของนักเรียนให้ถึงที่สุด  จึงจัดทำโครงการนี้เพื่อสนับสนุนหลักการดังกล่าว
                งานวิชาการถือว่าเป็นหัวใจสำคัญของการจัดการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของโรงเรียน  ซึ่งจะต้องอาศัยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสนับสนุนให้การเรียนการสอนบรรลุวัตถุประสงค์ของหลักสูตร  ดังนั้นโรงเรียนจึงจำเป็นจะต้องจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมให้เหมาะสมกับสติปัญญา  และความสามารถของนักเรียน เพื่อพัฒนาด้านทักษะพิสัย  พุทธิพิสัย  จิตพิสัย  โดยการจัดกิจกรรมเสริมนอกเหนือจากการเรียนการสอนในห้องเรียน  โรงเรียนจึงจำเป็นต้องจัดให้มีโครงการนี้ขึ้น
8.วัตถุประสงค์
                1.  เพื่อส่งเสริมสนับสนุนนักเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
                2.  เพื่อส่งเสริมให้เด็กที่มีความสามารถได้มีโอกาสในการแสดงออก
                3.  เพื่อให้นักเรียนได้ค้นหาความสามารถ/ความถนัดของตนเอง



สวยจัง...ผลงานนี้แหละได้ไปแข่งระดับภาค
9.กลุ่มเป้าหมาย
                1.เชิงปริมาณ
-นักเรียน   จำนวน 246 คน
                2.เชิงคุณภาพ
-นักเรียน ร้อยละ 60 ผลการเรียนเพิ่มขึ้น
10.สถานที่ดำเนินโครงการ
                ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
11.ระยะเวลาการดำเนินงาน
                11.1.ขั้นเตรียมงาน
                                1 พฤษภาคม  2552  ถึง 15 พฤษภาคม  2552
                11.2.ขั้นดำเนินงาน
                                16 พฤษภาคม 2552  ถึง 28 กุมภาพันธ์  2553
                11.3.ขั้นประเมินผล
                                ทุกวันที่ 20 ของทุกดือน

     ฝีมือการปั้นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  6
     ( เห็นความตั้งใจของนักเรียนแล้ว...ภูมิใจจัง )

12.วิธีดำเนินการ
 
ลำดับที่
Item
การดำเนินงาน
Implementation
ระยะเวลา
Time
1
ขั้นเตรียมการ (Planning)


  1.1 ประชุมวางแผนการดำเนินโครงการ
1 พ.ค.52

  1.2 แต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบ
7 พ.ค.52

  1.3 จัดทำและเสนอขออนุมัติโครงการ
10 พ.ค.52
2
ขั้นดำเนินการ (Action)


  2.1  แบ่งเขตรับผิดชอบของ ครู และ นักเรียน
14 พ.ค.52

  2.2  ทำแผนผังเขตรับผิดชอบ จัดเวรประจำห้องทุกห้อง
14 พ.ค.52

  2.3  ดำเนินการตามที่วางแผนไว้
16 พ.ค. 52ถึง
20 ก.พ.53
3
ขั้นติดตามประเมินผล(Evaluation)


  3.1  รายงานความก้าวหน้า
ทุกเดือน

  3.2  ประเมินผล  สรุปผลรายงานการปฏิบัติงาน

4
ขั้นพัฒนาปรับปรุง


4.1  กำหนดประชุมปรึกษาและแลกเปลี่ยน
      เรียนรู้เพื่อพัฒนาปรับปรุง
ทุกเดือน

4.2  ร่วมกันแลกเปลี่ยนเรียนรู้  พัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ

13.งบประมาณ
                 -
14.หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
                ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้
15.ผลที่คาดว่าจะได้รับ
                1.  นักเรียนที่มีความเป็นเลิศในด้านต่างๆได้รับการพัฒนาเต็มศักยภาพ
                2.  เปิดโอกาสให้นักเรียนที่มีความสามารถได้การแสดงออก
                3.  นักเรียนได้ค้นหาความสามารถ/ความถนัดของตนเอง
                         ผลงานจากการเข้าร่วมแข่งงานศิลปหัตถกรรมนักเรียนครั้งที่  59
                                                       จ.อุบลราชธานี

16.การติตามและประเมินผล
ตัวชี้วัดความสำเร็จ
ผลผลิต (Out puts)
-  นักเรียน จำนวน 246 คน มีผลการเรียนดีขึ้น นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนา
ผลลัพธ์ (Outcomes)
-  นักเรียนร้อยละ 70 มีผลการเรียนดีขึ้น นักเรียนมีความกระตือรือร้นมากขึ้น นักเรียนทุกคนได้รับการพัฒนา




                                                 รางวัลแห่งความสำเร็จ

วันอาทิตย์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2553


โรงเรียนบ้านดงเปือย  (มูลศึกษาวิทยา)
เครือข่ายโรงเรียนรัตนบุรี  2 
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา  สุรินทร์  เขต  2

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน
โรงเรียนบ้านดงเปือย   ปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้  คู่คุณธรรม
นำภูมิปัญญา   พัฒนาสู่วิชาชีพ   ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ปรัชญาโรงเรียน
สุวิชาโน  โลเก  ภวํ  โหติ   ความเป็นผู้มีวิชาดีเป็นผู้เจริญ

คำขวัญโรงเรียน
เรียนดี   มีทักษะ  ถือธรรมะ   เสียสละ  เพื่อปวงชน

ประวัติ
                โรงเรียนบ้านดงเปือย (มูลศึกษาวิทยา)  ก่อตั้งเมื่อ  พ.ศ. 2471  เดิมชื่อโรงเรียนรัตนบุรี9 
( มูลศึกษาวิทยา )  ตำบลรัตนบุรี  เป็นโรงเรียนแห่งที่ 2  ของตำบลแก  อาศัยศาลาวัดบ้านลำเพิญ 
จึงใช้ชื่อว่า  โรงเรียนประชาบาล  ตำบลแก 2  วัดบ้านลำเพิญ  พ.ศ.2481 ย้ายจากศาลาวัดบ้าน
ลำเพิญ  มาอาศัยศาลาวัดบ้านดงเปือย และพ.ศ. 2483  จึงได้ย้ายมาตั้งที่ที่ดินของโรงเรียนปัจจุบัน 
เนื้อที่  84  ไร่  และเปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนบ้านดงเปือย  (มูลศึกษาวิทยา)
                ปัจจุบันเปิดสอน  3  ระดับ  คือ  ระดับก่อนประถมศึกษา  ระดับประถมศึกษา 
และมัธยมศึกษาตอนต้น  มีนักเรียนทั้งหมด  246  คน  ครู  17  คน  พนักงานบริการ  1  คน